วันอังคารที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2562

อนุทินที่ 3

แบบฝึกหัดทบทวน

    บทที่ เรื่อง กฎหมายรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของชาติ
1. ใครเป็นผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก และมีเหตุผลอย่างไร และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เป็นอย่างไร อธิบาย          
ตอบ  พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามคณะราษฎร์เป็นผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกเหตุผลที่ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก คณะราษฎร์เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยได้กล่าวไว้ว่า “บัดนี้การศึกษาสูงขึ้นแล้ว มีข้าราชการประกอบด้วยวุฒิปรีชาในรัฐภิบาล นโยบายสามารถนำประเทศของตนในอันที่จะก้าวหน้าไปสู่สากลอารยธรครรมแห่งโลกโดยสวัสดี สมควรแล้วที่จะพระราชทานพระบรมวโรกาส ให้ข้าราชการและประชาชนของพระองค์ ได้มีส่วนมีเสียงตามความเห็นเห็นชอบในการจรรดลงประเทศสยามให้วัฒนาการในภายภาคหน้า

2. แนวนโยบายแห่งรัฐในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของ รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492 ได้กำหนดอย่างไร อธิบาย         
 ตอบ    หมวด 5 แนวนโยบายแห่งรัฐในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ดังนี้  
    มาตรา 62 การศึกษาอบรมพึงมีจุดประสงค์ที่จะให้ชนชาวไทยเป็นพลเมืองดี มีร่างกายแข็งแรง และอาณามัยสมบูรณ์ มีความรู้ ความสามารถที่จะประกอบอาชีพ และมีจิตใจเป็นนักประชาธิปไตย          
    มาตรา 63 การส่งเสริมบำรุงการศึกษาอบรม การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐ การอบรมชั้นอุดมศึกษา รัฐพึงจัดการให้สถานศึกษาดำเนินกิจการของตนเองได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติ          
    มาตรา 64 การศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษาของรัฐและเทศบาล ที่จะต้องจัดให้โดยไม่คิดค่าเล่าเรียน รัฐพึงช่วยเหลือให้มีอุปกรณ์การศึกษาอบรมตามสมควร          
    มาตรา 65 รัฐพึงสนับสนุนการค้นคว้าในทางศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์
3.เปรียบเทียบแนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญพุทธศักราช2511 พุทธศักราช 2517 และพุทธศักราช 2521 เหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย         
ตอบ แนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญ ฯ พุทธศักราช 2511พุทธศักราช 2517 และพุทธศักราช 2521 มีความแตกต่างกัน เนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนไป ดังนี้ รัฐธรรมนูญ ฯ พุทธศักราช 2517 ได้กำหนดไว้ดังนี้          
    มาตรา 59 การส่งเสริมบำรุงการศึกษาอบรม การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐ การอบรมชั้นอุดมศึกษา รัฐพึงจัดการให้สถานศึกษาดำเนินกิจการของตนเองได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติ          
    มาตรา 60 การศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษาของรัฐและเทศบาล ที่จะต้องจัดให้โดยไม่คิดค่าเล่าเรียน รัฐพึงช่วยเหลือให้มีอุปกรณ์การศึกษาอบรมตามสมควร          
    มาตรา 61 การศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษาของรัฐและเทศบาล ที่จะต้องจัดให้โดยไม่คิดค่าเล่าเรียน รัฐพึงช่วยเหลือให้มีอุปกรณ์การศึกษาอบรมตามสมควน                      
    มาตรา 72 รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรม การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐ โดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐ  การศึกษาอบรมขั้นอุดมศึกษา รัฐพึงจัดการให้สถานศึกษาดำเนินกิจการของตนเองภายในขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติ  สถานศึกษาของรัฐและของท้องถิ่น พึงให้ความเสมอภาคแก่บุคคล ในการเข้ารับการศึกษาอบรมตามความสามารถของบุคคลนั้น ๆ         
    มาตรา 73 การศึกษาอบรมภาคบังคับในสถานศึกษาของรัฐและของท้องถิ่น จะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน รัฐพึงช่วยเหลือผู้ยากไร้ให้ได้รับทุนและปัจจัยต่าง ๆ ในการศึกษาอบรมทุกระดับตามสมควร จากบทบัญญัติในมาตราดังกล่าว จะเห็นว่ามีสาระเช่นเดียวกับมาตรา 63 และมาตรา 64 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2492 ดังได้กล่าวมาแล้ว แต่ได้เพิ่มเติมเรื่องความเสมอภาคแก่บุคคลในการเข้ารับการศึกษาอบรมตามความสามารถของแต่ละบุคคลและได้ขยายแนวนโยบายที่จะช่วยเหลือให้นักเรียนได้อุปกรณ์การศึกษา เพราะอาจเป็นเงินทุนการศึกษาหรือปัจจัยอย่างอื่นที่ใช้ในการศึกษาอบรม  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 ได้กำหนดแนวนโยบายแห่งรัฐในด้านการศึกษาไว้ในมาตรา 60 และมาตรา 62 ดังนี้          
     มาตรา 60 รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรมและการฝึกอาชีพตามความเหมาะสมและความต้องการของประเทศ  การจัดการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐ โดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวง ย่อมอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐ  รัฐพึงช่วยเหลือผู้ยากไร้ให้ได้รับทุนและปัจจัยต่าง ๆ ในการศึกษาอบรม และการฝึกอาชีพ  การศึกษาอบรมภาคบังคับในสถานศึกษาของรัฐ จะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน  การศึกษาอบรมขั้นอุดมศึกษา รัฐพึงจัดให้สถานศึกษาดำเนินกิจการของตนเองได้โดยอิสระภายในขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติ          
    มาตรา 62 รัฐพึงสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาเยาวชนของชาติ ให้เป็นผู้มีความสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมและเพื่อความมั่นคงของรัฐ  จะเห็นได้ว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับนี้ได้รวบรวมหลักสำคัญของแนวนโยบายการศึกษาที่มีอยู่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับก่อน ๆ มาไว้ในมาตราเดียวกัน จึงเหมือนกับว่านำมาตรา 72 และมาตรา 73 ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2517 ที่กล่าวมาแล้ว มารวบรวมไว้ในมาตรา 60 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2521 เพียงแต่ได้ขยายความไว้ในวรรคแรกว่า "รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรม และการฝึกอาชีพตามความเหมาะสมและความต้องการของประเทศ" จึงเห็นได้ว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับนี้ได้มีแนวนโยบายในด้านการฝึกอาชีพเพิ่มขึ้นมาด้วย ส่วนในมาตรา 62 ได้บัญญัติถึงแนวนโยบายการพัฒนาเยาวชนให้เป็นผู้มีความสมบูรณ์ทางร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมและเพื่อความมั่นคงของรัฐก็ถือว่าเน้นการพัฒนาด้านร่างกาย สุขภาพอนามัย ด้านจิตใจ สติปัญญา เหมือนกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2492 จึงทำให้นโยบายด้านการศึกษาของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับนี้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
4. ประเด็นที่ 1 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490 ประเด็นที่ 2 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2549-2517 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย         
ตอบ  ประเด็นที่ 1 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490 และประเด็นที่ 2 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช2492-2517 มีความแตกต่างกันตรงที่ ประเด็นที่ 1 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490 กล่าวถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาไม่มากนัก มีมาตราที่เกี่ยวข้อง เพียง 1 หมวด 1 มาตรา โดยกล่าวถึงสิทธิและเสรีภาพ ในการพูด การเขียน การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ อย่างรวมๆ แต่ประเด็นที่ 2 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492-2517 กล่าวถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา โดยละเอียดมากขึ้น โดยเขียนแบ่งออกเป็น 2 หมวด 5 มาตรา แต่ละมาตราจะเขียนกำกับไว้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่า บุคคลจะมีสิทธิและเสรีภาพได้แค่เพียงขั้นไหน และยังได้กล่าวถึงนโยบายที่รัฐจะต้องให้การสนับสนุนทางการศึกษาเพิ่มขึ้น
5. ประเด็นที่ 3 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2521-2534 ประเด็นที่ 4 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2540-4550 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย          
ตอบ ประเด็นที่ 3 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2521-2534 และประเด็นที่ 4 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช2540 - 2550 มีความเหมือนกันค่อนข้างมาก แต่จะแตกต่างกันตรงที่ ประเด็นที่ 4 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2540-2550 ได้มีการกล่าวถึงการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดในทุกระดับและทุกรูปแบบให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม จัดให้มีแผนการศึกษาแห่งชาติ กฎหมายเพื่อพัฒนาการศึกษาของชาติ จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ก้าวหน้าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก รวมทั้งปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกของความเป็นไทย มีระเบียบวินัย คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และยังได้กล่าวถึง การส่งเสริมและสนับสนุนการกระจายอำนาจเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชนองค์การทางศาสนา และเอกชน จัดและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนามาตรฐานคุณภาพการศึกษาให้เท่าเทียมและสอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐเพิ่มขึ้น
6. เหตุใดรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะต้องระบุในประเด็นที่รัฐจะต้องจัดการศึกษาอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง อธิบาย          
ตอบ เพราะหากรัฐไม่ได้ระบุถึงการจัดการศึกษาที่เป็นธรรมและทั่วถึงแล้ว จะทำให้คนในประเทศเกิดความเหลื่อมล้ำกันทางการศึกษา บุคคลกลุ่มหนึ่งจะได้รับความรู้ความก้าวหน้าในด้านต่างๆ รอบตัวตลอดเวลา แต่บุคคลอีกกลุ่มหนึ่งจะไม่สามารถรับรู้สิ่งต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้นได้เลย หากรัฐไม่เข้ามาช่วยเหลือและเปิดโอกาสให้บุคคลเหล่านั้นได้รับการศึกษาอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม
7.เหตุใดรัฐจึงต้องกำหนด “บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติจงอธิบาย หากไม่ปฏิบัติจะเกิดอะไรขึ้น         
ตอบ เมื่อรัฐมีการกำหนดให้บุคคลทุกคนมีสิทธิและเสรีภาพทางการศึกษาแล้ว รัฐจะต้องมีการกำกับเงื่อนไข และวิธีการที่กฎหมายบัญญัติขึ้นควบคู่ไว้ด้วย เพื่อป้องกันการศึกษาที่ไม่เหมาะสม ไม่ถูกไม่ควร อันจะส่งผลกระทบต่อประเทศชาติไปในทางที่ไม่ดี หากมีบุคคลทำการศึกษาและให้ความจิงจังในการลงมือปฏิบัติ หรือการรวมกลุ่มกันเพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง
8.การจัดการศึกษาที่เปิดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาหากเราพิจารณารัฐธรรมนูญมีฉบับใดบ้างที่ให้องค์กรส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วม และถ้าเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้นท่านคิดว่าเป็นอย่างไร          
ตอบ หากมีการเปิดโอกาสให้องค์กรปกครองท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษามากขึ้น จะส่งผลให้คนในประเทศได้รับการศึกษาที่เท่าเทียมกัน และมีความทั่วถึงยิ่งขึ้น เพราะในส่วนของรัฐเอง คงจะไม่สามารถที่จะลงมาให้ความช่วยเหลือกับบุคคลที่อยู่ในส่วนท้องถิ่นได้อย่างเต็มที่ แต่หากมีการกระจายอำนาจให้คนในพื้นที่ได้ช่วยเหลือดูแลกันในด้านการศึกษาจะทำให้บุคคลที่อยู่ในท้องถิ่นได้รับผลประโยชน์ที่ทั่วถึงมากกว่า
9. เหตุใดการจัดการศึกษา รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริมความเสมอภาคทั้งหญิงและชาย พัฒนาความเป็นปึกแผนของครอบครัว และความเข็มแข็งของชุมชนสังเคราะห์ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส จงอธิบาย          
ตอบ เพื่อให้ทุกคนในประเทศได้รับความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทุกคน แม้ว่าบุคคลเหล่านั้นจะมีสถานภาพทางสังคมที่ด้อยกว่าผู้อื่น หรือมีวุฒิภาวะที่แตกต่างกันก็ตามทุกคนล้วนมีสิทธิและเสรีภาพ รัฐจึงต้องเข้าไปช่วยเหลือและให้ความคุ้มครอง พัฒนาและส่งเสริมให้มากขึ้นยิ่งกว่าบุคคลปกตินั้นเอง
10. ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มีผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างไรบ้าง จงอธิบาย          
ตอบ ผลจากการจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มีผลต่อการพัฒนาประเทศคือ ประชาชนได้รับการศึกษา ได้มีความรู้ในการประกอบอาชีพสร้างรายได้ให้คนในชาติ ได้ทำให้ประชาชนมีการเปิดกว้างทางการศึกษาในการพบบุคคลประเทศเพื่อนบ้านเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ที่มี ส่งเสริมให้มีการปฏิบัติได้จริงมากยิ่งขึ้น ทำให้ได้รับความรู้เชิงประสบการณ์มากกว่าการศึกษาแต่ภายในห้องเรียน

วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

อนุทินที่ 2

แบบฝึกหัด

    บทที่ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย
คำสั่ง หลังจากนักศึกษาได้ศึกษาบทเรียนนี้แล้ว จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง

1. ท่านคิดว่าทำไมมนุษย์เราต้องมีกฎหมายหากไม่มีจะเป็นอย่างไร    
ตอบ   ในความคิดของดิฉันถือได้ว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคม โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์ไม่สามารถที่จะดำรงชีวิตอยู่คนเดียวได้ จึงต้องรวมกันอยู่เป็นหมู่เป็นพวก เป็นกลุ่มเป็นก้อน เริ่มจากสังคมเล็ก ๆ ระดับครอบครัว ต่อมาเมื่อมนุษย์มีจำนวนมากขึ้นก็รวมกันเป็นเผ่าเป็นกลุ่มชนและสุดท้ายเผ่าที่มีสายพันธุ์เดียวกันก็รวมเข้าด้วยกันกลายเป็นกลุ่มชนใหญ่ขึ้น จนกลายเป็นรัฐ เป็นประเทศ การที่มนุษย์มาอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก จำเป็นที่ต้องมีการติดต่อกัน เพื่อแลกเปลี่ยนปัจจัยในการดำรงชีวิต บางครั้งมนุษย์ก็มีความต้องการที่จะทำอะไร ๆ ตามใจตนเองบ้าง ซึ่งการกระทำนั้นอาจเป็นเหตุทำให้ผู้อื่นไม่พอใจ จนเกิดความขัดแย้งวุ่นวายขึ้นมาได้ มนุษย์จึงต้องสร้างกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ขึ้นเพื่อใช้ควบคุมความประพฤติของสมาชิกในสังคมให้เป็นไปในทำนองเดียวกัน เพื่อให้สังคมเป็นระเบียบเรียบร้อยสงบสุข กฎเกณฑ์ต่าง ๆ เหล่านี้ เรียกว่า บรรทัดฐานทางสังคม
2. ท่านคิดว่าสังคมปัจจุบันจะอยู่ได้หรือไม่หากไม่มีกฎหมายและจะเป็นอย่างไร    
ตอบ  ดิฉันคิดว่าไม่ได้ เพราะ กฎหมายเป็นเครื่องควบคุมประพฤติการณ์ในสังคม พัฒนาขึ้นมาจากศีลธรรม ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี ศาสนา และกฎเกณฑ์ข้อบังคับ เพื่อธำรงความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของสมาชิกในสังคมและเพื่อให้การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุข  หากไม่มีกฎหมาย สังคมนั้นก็จะมีปัญหาที่เกิดมนุษย์กระทำ ทั้งการทะเลาะวิวาทก่อความวุ่นวาย เนื่องจากไม่มีระเบียบวินัยในการอยู่ร่วมกัน ทำให้ใครสามารถทำอะไรก็ได้ตามใจตนเองหรืออำนาจที่มีอยู่จนสังคมนั้นเกิดปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้
3. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายในประเด็นต่อไปนี้    
     ก. ความหมาย                    ข. ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย        
     ค. ที่มาของกฎหมาย            ง. ประเภทของกฎหมาย    
     ก. ความหมาย        
     ตอบ   กฎหมาย คือ คำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐธิปไตยจากคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดของรัฐ เป็นข้อบังคับใช้กับคนทุกคนที่อยู่ในรัฐหรือประเทศนั้น ๆ จะต้องปฏิบัติตามและมีสภาพบังคับที่มีการกำหนดบทลงโทษ    
     ข. ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย        
     ตอบ   องค์ประกอบที่สำคัญของกฎหมายที่สำคัญคือ ประชาชนที่อยู่ร่วมกันในอาณาเขตเดียวกัน และมีอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเอง พอที่จะสรุปได้ว่า ลักษณะหรือองค์ประกอบได้ ประการ คือ               1. เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตยที่องค์กรหรือคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดสามารถใช้อำนาจบัญญัติกฎหมาย ตราพระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา คณะปฏิวัติ ออกคาสั่ง หรือประกาศคณะปฏิวัติชุดต่าง ๆ ถือว่าเป็นกฎหมาย       
         2. มีลักษณะเป็นคำสั่งข้อบังคับ อันมิใช่คำวิงวอน ประกาศ หรือแถลงการณ์ คำแถลงการณ์ของคณะสงฆ์ ให้ถือเป็นแนวปฏิบัติมิใช่กฎหมาย       
         3. ใช้บังคับกับคนทุกคนในรัฐอย่างเสมอภาค เพื่อให้ทุกคนเกรงกลัว และถือปฏิบัติสังคมจะสงบสุขใด       
         4. มีสภาพบังคับ ซึ่งบุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยเฉพาะการกระทำและการงดเว้นการกระทำตามกฎหมายกำหนด    
     ค. ที่มาของกฎหมาย        
     ตอบ   ที่มาของกฎหมายในประเทศไทย พอที่จะสรุปได้ 5 ลักษณะดังนี้        
     1. บทบัญญัติแห่งกฎหมาย เป็นกฎหมายลักษณ์อักษร ผู้มีอำนาจแห่งรัฐหรือผู้ปกครองประเทศเป็นผู้ออกกฎหมาย        
     2. จารีตประเพณี เป็นแบบอย่างที่ประชาชนนิยมปฏิบัติตามกันมานาน หากนำไปบัญญัติเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรแล้วย่อมมีสภาพไปเป็นกฎหมาย        
     3. ศาสนา เป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติที่ดีของทุก ๆ ศาสนาสอนให้เป็นคนดี กฎหมายจึงได้บัญญัติตามหลักศาสนาและมีการลงโทษ        
     4. คำพิพากษาของศาลหรือหลักบรรทัดฐานของคำพิพากษา ซึ่งคำพิพากษาของศาลชั้นสูงเป็นแนวทางที่ศาลชั้นต้นต้องนำไปถือปฏิบัติในการตัดสินซึ่งจะต้องตรงตามหลักความจริงมากที่สุด               5.  ความเห็นของนักนิติศาสตร์ เป็นการแสดงความคิดเห็นของว่าสมควรที่จะออกกฎหมายอย่างนั้น สมควรหรือไม่ จึงทำให้นักนิติศาสตร์ อาจจะเป็นอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงในกฎหมายได้แสดงความคิดเห็นว่ากฎหมายฉบับนั้นได้ ในประเด็นที่น่าสนใจเพื่อที่จะแก้ไขกฎหมายให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนดังกล่าว
     ง. ประเภทของกฎหมาย          

     ตอบ   การแบ่งประเภทกฎหมายที่ใช้ในประเทศไทย ขึ้นอยู่ใช้หลักใดจะขอกล่าวโดยทั่ว ๆไปดังนี้       1. กฎหมายภายใน
          1.1 กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
                1.1.1 กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร แบ่งโดยยึดเนื้อหาของกฎหมายที่ปรากฏเป็นหลัก โดยผ่านกระบวนการบัญญัติกฎหมาย
                1.1.2 กฎหมายที่เป็นไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นกฎหมายที่มิได้มีการบัญญัติโดยผ่านกระบวนการนิติบัญญัต
          1.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
                1.2.1 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา เช่น การประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ หรือริบทรัพย์สิน สภาพบังคับทางอาญาจึงเป็นโทษอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ใช้ลงโทษกับผู้กระทำผิดทางอาญา
                1.2.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง เช่น การกำหนดให้เป็น โมฆะกรรมหรือโมฆียกรรม การบังคับให้ชำระหนี้ การให้ชดใช้ค่าเสียหาย หรือการที่กฎหมายบังคับให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อความเป็นธรรม
           1.3 กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
                 1.3.1 กฎหมายสารบัญญัติ แบ่งโดยคำนึงถึงบทบาทของกฎหมายเป็นหลัก
                 1.3.2 กฎหมายวิธีสบัญญัติ กล่าวถึง วิธีการและขั้นตอนในการใช้กฎหมายบังคับ
           1.4 กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
                 1.4.1 กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน
                 1.4.2 กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่มีความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน
      2. กฎหมายภายนอก
           2.1 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐในการที่จะต้องปฏิบัติต่อกันและกัน
           2.2 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล เป็นข้อบังคับที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในรัฐต่างรัฐ
           2.3 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา เป็นข้อบังคับที่ประเทศหนึ่งหรือรัฐหนึ่งตกลงยอมรับให้ศาลส่วนอาญาของอีกรัฐหนึ่งมีอำนาจในการพิจาณาลงโทษอาญาแก่บุคคลที่ได้กระทำผิดนอกประเทศนั้นได้
4. ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร ว่า ทำไมทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมาย จงอธิบาย     
ตอบ   ดิฉันคิดว่าการอยู่ร่วมกันของมนุษย์จากชุมชนจนเป็นประเทศ เมื่อมีจำนวนคนเพิ่มขึ้น ความต้องการทรัพยากรมีมากขึ้น ดังนั้น มนุษย์จึงต้องสร้างกฎเกณฑ์ต่างๆ ขึ้นเพื่อใช้ควบคุมความประพฤติของสมาชิกในสังคมให้เป็นไปในทำนองเดียวกันเพื่อให้สังคมเป็นระเบียบเรียบร้อยสงบสุข กฎเกณฑ์ต่างๆ นั้นเรียกว่า "กฎหมาย"
5. สภาพบังคับในทางกฎหมายท่านมีความเข้าใจอย่างไร จงอธิบาย    
ตอบ    สภาพบังคับในทางกฎหมาย คือ โทษต่างๆในกฎหมายที่บุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามอาจถูกลงโทษหรือเสียค่าปรับตามโทษฐานหรือข้อหาที่ทำผิด
6. สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่ง มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร    
ตอบ   สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่ง มีความแตกต่างกันด้วยสภาพบังคับในกฎหมายอาญานั้นมีสภาพบังคับอีกประเภทหนึ่ง คือ โทษทางอาญาซึ่งกฎหมายได้บัญญัติไว้สำหรับความผิด ซึ่งโทษดังกล่าวมีอยู่ 5 สถานด้วยกัน คือ โทษประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ และริบทรัพย์สิน  แต่สภาพบังคับในกฎหมายแพ่งนั้น มีสภาพบังคับประเภทหนึ่ง กล่าวคือถ้าหากมีการล่วงละเมิดกฎหมายแพ่ง บุคคลผู้ล่วงละเมิดไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาล ก็อาจจะถูกยึดทรัพย์มาขายทอดตลาดเอาเงินที่ขายได้มาชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาล หรือมิฉะนั้นอาจถูกกักขังจนกว่าจะปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลก็ได้ 
7. ระบบกฎหมายเป็นอย่างไร จงอธิบาย     
ตอบ    ระบบกฎหมายเป็นความพยายามของนักกฎหมาย ที่จะจับกลุ่มของกฎหมายที่มีใช้อยู่ในประเทศต่าง ๆ ในโลก ที่มีลักษณะใกล้เคียงกันเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งในปัจจุบันนี้ระบบกฎหมายอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ระบบดังนี้     
          1. ระบบซีวิลลอร์ (Civil Law System) หรือระบบลายลักษณ์อักษร เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่มีความสำคัญกว่าอย่างอื่น เป็นบรรทัดฐานแบบอย่างของการตีความกฎหมายเท่านั้น โดยเริ่มต้นจากตัวบทกฎหมายเป็นสำคัญจะถือเอาคำพิพากษาศาลหรือความคิดเห็นของ นักกฎหมายเป็นหลักไม่ได้
          2. ระบบคอมมอนลอว์ (Common Law System) เป็นกระบวนการเข้าไปเสริมแต่งให้คอมมอนลอว์ เป็นการพัฒนามาจากกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร นาเอาจารีตประเพณีและคาพิพากษา ซึ่งเป็นบรรทัดฐานของศาลสมัยเก่ามาใช้ จนกระทั่งเป็นระบบกฎหมายที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง การวินิจฉัยต้องอาศัยคณะลูกขุนเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด
8. ประเภทของกฎหมายมีหลักการแบ่งอย่างไรบ้าง มีกี่ประเภท แต่ละประเภทประกอบด้วยอะไรบ้าง ยกตัวอย่างอธิบาย     
ตอบ  ประเภทของกฎหมาย ที่จะศึกษาแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 
      1.  ประเภทแบ่งตามระบบหรือที่มาของกฎหมาย
           1.1  ระบบลายลักษณ์อักษร ( Civil law System ) ประเทศไทยใช้ระบบนี้เป็นหลัก  กระบวนการจัดทำกฎหมายมีขั้นตอนที่เป็นระบบ มีการจดบันทึก มีการกลั่นกรองของฝ่ายนิติบัญญัติคือ รัฐสภา มีการจัดหมวดหมู่กฎหมายของตัวบทและแยกเป็นมาตรา เมื่อผ่านการกลั่นกรองจากรัฐสภาแล้ว จะประกาศใช้เป็นกฎหมายโดยราชกิจจานุเบกษา กฎหมายลายลักษณ์อักษรนี้ ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง
           1.2 ระบบไม่เป็นลายลักษณ์อักษรหรือจารีตประเพณี ( Common Law System) เป็นกฎหมาย  ที่มิได้มีการจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร ไม่มีการจัดเป็นหมวดหมู่ และไม่มีมาตรา หากแต่เป็นบันทึกความจำตามขนบธรรมเนียมประเพณีที่ใช้กันต่อๆมา ตั้งแต่บรรพบุรุษรวมทั้งบันทึกคำพิพากษาของศาลที่พิพากษาคดีมาแต่ดั้งเดิม ประเทศที่ใช้กฎหมายจารีตประเพณี หรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ ประเทศอังกฤษและประเทศทั้งหลายในเครือจักรภพของอังกฤษ
      2.  ประเภทแบ่งตามลักษณะการใช้กฎหมาย
           2.1  กฎหมายสารบัญญัติ คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ของบุคคล กำหนด ข้อบังคับความประพฤติของบุคคลทั้งในทางแพ่งและในทางอาญา โดยเฉพาะในทางอาญา คือ ประมวลกฎหมายอาญา จะบัญญัติลักษณะการกระทำอย่างใดเป็นความผิดระบุองค์ประกอบความผิดและกำหนดโทษไว้ว่าจะต้องรับโทษอย่างไร และในทางแพ่ง   คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  จะกำหนดสาระสำคัญของบทบัญญัติว่าด้วยนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในฐานะต่าง ๆ ตามกฎหมาย เช่น นิติกรรม หนี้ สัญญา เอกเทศสัญญา เป็นต้น
          2.2  กฎหมายวิธีสบัญญัติ คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงวิธีการปฏิบัติด้วยการนำเอากฎหมายสารบัญญัติไปใช้ไปปฏิบัตินั่นเอง เช่น ไปดำเนินคดีในศาลหรือเรียกว่า  กฎหมายวิธีพิจารณาความก็ได้  กฎหมายวิธีสบัญญัติ    จะกำหนดระเบียบ ระบบ ขั้นตอนในการใช้ เช่น กำหนดอำนาจเจ้าหน้าที่ของรัฐในการดำเนินคดีอาญาต่อผู้ต้องหา วิธีการร้องทุกข์ วิธีการสอบสวนวิธีการนำคดีที่มีปัญหาฟ้องต่อศาล วิธีการพิจารณาคดีต่อสู้คดี ในศาลรวมทั้งการบังคับคดีตามคำสั่ง หรือคำพิพากษาของศาล เป็นต้น กฎหมายวิธีสบัญญัติ จะกำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา    ความอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเป็นหลัก
       3.  ประเภทแบ่งตามบทบัญญัติในกฎหมายที่มีความสัมพันธ์กับประชาชน
            3.1  กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่รัฐตราออกใช้กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับ ประชาชนการบริหารประเทศ รัฐมีฐานะเป็นผู้ปกครองประชาชนด้วยการออกกฎหมายและให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยแก่สังคม จึงตรากฎหมายประเภทมหาชนซึ่งเกี่ยวข้องกับประชาชนเป็นส่วนรวมทั้งประเทศ และทุกคนต้องปฏิบัติตามกฎหมายการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะมีผลกระทบต่อบุคคลของประเทศเป็นส่วนรวม จึงเรียกว่า กฎหมายมหาชน กฎหมายประเภทนี้ ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง เช่น พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายอาญา เป็นต้น
           3.2  กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชน ด้วยกันเอง เป็นความสัมพันธ์ในเรื่องสิทธิและหน้าที่ระหว่างคู่สัญญา คือ เอกชนด้วยกันเอง รัฐไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วย เพราะไม่มีผลกระทบต่อสังคมส่วนรวม  จึงให้ประชาชนมีอิสระกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างกันภายในกรอบของกฎหมายเพื่อคุ้มครอง
9. ท่านเข้าใจถึงคำว่าศักดิ์ของกฎหมายคืออะไร มีการแบ่งอย่างไร
ตอบ  “ศักดิ์ของกฎหมาย” คือ “เป็นการจัดลำดับแห่งค่าบังคับของกฎหมายหรืออาจกล่าวได้ว่าอาศัยอำนาจขององค์กรที่ใช้อำนาจจากองค์กรที่แตกต่างกัน” 
        การจัดลำดับความสำคัญตามศักดิ์ของกฎหมาย พอที่จะสรุปได้ดังนี้
        1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นกฎหมายหลักที่ให้หลักประกันแก่ประชาชน หากมีกฎหมายใดออกมาขัดแย้งกับกฎหมายรัฐธรรมนูญมิได้ กฎหมายฉบับนั้นย่อมไม่มีผลใช้บังคับ    
        2. พระราชบัญญัติและประมวลกฎหมาย เป็นกฎหมายที่ผ่านกระบวนการนิติบัญญัติโดยความเห็นชอบของรัฐสภา ที่เป็นตัวแทนของประชาชน และพระมหากษัตริย์ได้ลงพระปรมาภิไธยใช้บังคับเป็นกฎหมาย    
        3. พระราชกำหนด เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ และทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรีเฉพาะในกรณีที่มีเหตุผลพิเศษ    
        4. ประกาศพระบรมราชโองการให้ใช้บังคับ    
        5. พระราชกฤษฎีกา เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรีหรือเป็นกฎหมายอื่นที่ฝ่ายบริหารได้ออกโดยอาศัยอำนาจแห่งกฎหมาย    
        6. กฎกระทรวง เป็นกฎหมายที่รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนดเป็นผู้ออกกฎหมาย เพื่อให้การดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายหลักในเรื่องนั้น    
        7. ข้อบัญญัติจังหวัด เป็นกฎหมายที่ออกตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด ให้อำนาจองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นที่มีอำนาจปกครองดูแล    
        8. เทศบัญญัติ เป็นกฎหมายที่ออกตามพระราชบัญญัติเทศบาล การแบ่งองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นเป็น 3 ระดับคือ เทศบาลตำบล เทศบาลเมือง และเทศบาลนคร ซึ่งอาศัยความหนาแน่นของประชากร
10. เหตุการณ์ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 มีเหตุการณ์ชุมนุมของประชาชน ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า และประชาชนได้ประกาศว่าจะมีการประชุมอย่างสงบ แต่ปรากฏว่า รัฐบาลประกาศ เป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุม และขัดขว้างไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบ ลงมือทำร้ายร่างกายประชาชน ในฐานะท่านเรียนวิชานี้ท่านจะอธิบายบอกเหตุผลว่า รัฐบาลกระทำผิดหรือถูก       
ตอบ     ในฐานะที่ดิฉันเรียนวิชานี้ทำให้ดิฉันคิดว่า รัฐบาลกระทำผิด เพราะ ประชาชนมีสิทธิที่จะคิดกระทำการเพื่อความถูกต้อง มีสิทะิที่จะมาชุมนุมอย่างสงบ แต่การที่รัฐบาลลงมือทำร้ายประชาชนนั้น เป็นการทำเกินกว่าเหตุ เนื่องจากประชาชนทุกคนมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกันในการกระทำสิ่งใดที่ไม่ผิดหลักกฎหมาย  ดังนั้นรัฐบาลไม่สามารถลงมือทำร้ายประชาชนได้  ซึ่งประชาชนไม่ได้ก่อเหตุการณ์ทะเลาะวิวาทเพียงเเค่ชุมนุมกันเพื่อเเสดงความเดือดร้อนของตนเองให้รัฐบาลได้รับรู้  การกระทำดังกล่าวทำให้รัฐบาลเป็นฝ่ายกระทำรุนแรงต่อประชาชน เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน
11. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ คำว่า กฎหมายการศึกษาอย่างไร จงอธิบาย       
ตอบ    กฎหมายการศึกษา  คือ บทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับกฎหรือคำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่สถาบันหน่วยงานผู้มีอำนาจได้ตราขึ้นและมีผลบังคับใช้ เป็นกรอบเเนวทางในการปฏิบัติหรือการพัฒนาทางการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการศึกษา การเรียนการสอน หรือด้านบุคลากรเอง หรือการจัดการอบรมและสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม
12. ในฐานะที่นักศึกษาจะต้องเรียนวิชานี้ ถ้าเราไม่ศึกษากฎหมายการศึกษาท่านคิดว่า เมื่อท่านไปประกอบอาชีพครู จะมีผลกระทบต่อท่านอย่างไรบ้าง      
 ตอบ    ดิฉันคิดว่า เมื่อเราประกอบอาชีพข้าราชการครูแล้วเราจำเป็นที่ต้องศึกษากฎหมายการศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจ ทั้งจุดมุ่งหมายและหลักการหน้าที่ในการจัดการศึกษา รูปแบบการจัดการศึกษา แนวทางการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อเป็นแนวทางในการปฎิบัติตนเองให้อยู่ในจรรยาบรรณที่ดี เพราะถ้าเราไม่รู้กฎหมายการศึกษาบางครั้งเราก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาการศึกษาที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวเองหรือนักเรียนได้  ดังนั้นจำเป็นต้องมีกฎหมายการศึกษามาเป็นกรอบเเนวทางข้อบังคับในการดำเดินงานของบุคคลากรทางการศึกษาเเละมีบทลงโทษสำหรับการทำผิดเพื่อความสงบสุขในการประกอบอาชีพรับราชการครู

วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2562

อนุทินที่1

กิจกรรมที่ 1: แนะนำตนเอง





ประวัติส่วนตัว
ชื่อ : นางสาว เกวลิน บัวรัตนกาญจน์
ชื่อเล่น : แจน
เกิดวันที่ : 15 พฤษภาคม พ.ศ.2539
สัญชาติ ไทย
เชื้อชาติ : ไทย
ศาสนา พุทธ
ภูมิลำเนา : 93/1 ม. ต.พรหมโลก อ.พรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราช 80320
ความสามารถพิเศษ : ทำอาหาร
คติประจำใจ ทำวันนี้ให้ดีที่สุด 
งานอดิเรก ทำอาหาร ฟังเพลง
การศึกษา
ชั้นอนุบาล ศึกษาที่โรงเรียนบ้านคลองเเคว
ชั้นประถมศึกษา ศึกษาที่โรงเรียนบ้านคลองเเคว
ชั้นมัธยมศึกษา ศึกษาที่โรงเรียนพรหมคีรีพิทยาคม
ปัจจุบันกำลังศึกษาคณะครุศาสตร์  สาขาคณิตศาสตร์ที่
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
ทำไมถึงอยากเป็นครู
เพราะอาชีพครูเป็นอาชีพที่ใฝ่ฝันมาตั้งเเต่เด็ก  อาชีพครูเปรียบเสมือนแม่พิมพ์ของชาติที่คอยสร้างเด็กให้เป็นคนมีความรู้ และเป็นคนดีของสังคม และอาชีพครูเป็นอาชีพเเห่งการให้ที่เเท้จริงคอยมอบความรู้ ความรัก เเละความเมตตาให้เเก่ลูกศิษย์อย่างไม่หวังสิ่งตอบเเทนใดๆ
สิ่งที่อยากทำในอนาคต
อยากรับราชการครูคณิตศาสตร์ในโรงเรียนในชนบท คอยเป็นเเบบ
อย่างที่ดีให้เเก่นักเรียน เลี้ยงดูพ่อเเม่ให้ท่านอยู่อย่างสุขสบาย
สิ่งที่ชอบและไม่ชอบ
ชอบทำอาหารให้คนในครอบครัวรับประทาน มีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม เเละชอบเลี้ยงเเมว ไม่ชอบกินมะเขือเทศ